Sorry, no results.
Please try another keyword
ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาในทุกนิบาตส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) ใน สมาปัตติวรรค หมวดว่าด้วยสมาบัติ มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้ ข้อ164 ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติสร้างเหตุปัจจัยอะไรมาจึงทำได้ และการออกจากสมาบัติคือ การสามารถกำหนดเวลาออก รวมถึงการเลื่อนขึ้นหรือลงด้วย ข้อ165 ความซื่อตรงและความอ่อนโยนต้องมาด้วยกัน ข้อ166 ขันติและโสรัจจะเป็นธรรมะที่ทำให้เป็นสมณะ ข้อ167 พูดให้เป็นที่น่ารักต่อผู้ฟังและการต้อนรับที่ดี ข้อ168 ความไม่เบียดเบียนเป็นสัมมาสังกัปปะ ส่วนความสะอาดหมายถึงศีล ข้อ169,170 ความคุ้มครองทวารคือการรักษาไม่ให้อกุศลธรรมเข้ามา ไม่ใช่ให้ไปทำลาย ส่วนรู้จักประมาณในการบริโภค เพราะลิ้นนั้นจะนำมาอีกหลายสิ่ง ข้อ171,172 ภาวนาคือพัฒนาที่มันไม่มี ให้มี พัฒนาที่มันยังไม่ดี ให้ดี, พละคือกำลังในการที่จะทรงอยู่ในมรรค อินทรีย์คือกำลังในการที่จะเข้ามาได้ ข้อ173 เรื่องของการที่จิตรวมเป็นอันเดียวและเรื่องของปัญญาการเห็นตามความเป็นจริง ข้อ174-177 ศีลและทิฏฐิเป็นธรรมะที่จะทำให้คนอยู่ด้วยกันได้หรือไม่ได้ และเรื่องความเพียรที่สมควร ข้อ178 ความไม่รู้จักอิ่มจักพอในกุศลธรรมทั้งหลายและถ้าไม่สำเร็จไม่เลิกกลางคัน ข้อ179-180 สติและสัมปชัญญะต้องไปด้วยกัน
ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาในทุกนิบาตส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) ใน สมาปัตติวรรค หมวดว่าด้วยสมาบัติ มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้
ข้อ164 ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติสร้างเหตุปัจจัยอะไรมาจึงทำได้ และการออกจากสมาบัติคือ การสามารถกำหนดเวลาออก รวมถึงการเลื่อนขึ้นหรือลงด้วย
ข้อ165 ความซื่อตรงและความอ่อนโยนต้องมาด้วยกัน
ข้อ166 ขันติและโสรัจจะเป็นธรรมะที่ทำให้เป็นสมณะ
ข้อ167 พูดให้เป็นที่น่ารักต่อผู้ฟังและการต้อนรับที่ดี
ข้อ168 ความไม่เบียดเบียนเป็นสัมมาสังกัปปะ ส่วนความสะอาดหมายถึงศีล
ข้อ169,170 ความคุ้มครองทวารคือการรักษาไม่ให้อกุศลธรรมเข้ามา ไม่ใช่ให้ไปทำลาย ส่วนรู้จักประมาณในการบริโภค เพราะลิ้นนั้นจะนำมาอีกหลายสิ่ง
ข้อ171,172 ภาวนาคือพัฒนาที่มันไม่มี ให้มี พัฒนาที่มันยังไม่ดี ให้ดี, พละคือกำลังในการที่จะทรงอยู่ในมรรค อินทรีย์คือกำลังในการที่จะเข้ามาได้
ข้อ173 เรื่องของการที่จิตรวมเป็นอันเดียวและเรื่องของปัญญาการเห็นตามความเป็นจริง
ข้อ174-177 ศีลและทิฏฐิเป็นธรรมะที่จะทำให้คนอยู่ด้วยกันได้หรือไม่ได้ และเรื่องความเพียรที่สมควร
ข้อ178 ความไม่รู้จักอิ่มจักพอในกุศลธรรมทั้งหลายและถ้าไม่สำเร็จไม่เลิกกลางคัน
ข้อ179-180 สติและสัมปชัญญะต้องไปด้วยกัน
อ่าน “๕. สมาปัตติวรรค หมวดว่าด้วยสมาบัติ” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
Timeline
[03:19] สมาปัตติวรรค
[06:12] ข้อ164: ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าและการออกจากสมาบัติ
[18:48] ข้อ165: ความซื่อตรง (อาชชวะ) และ ความอ่อนโยน (มัททวะ)
[20:34] ข้อ166: ความอดทน (ขันติ) และ ความสงบเสงี่ยม (โสรัจจะ)
[25:04] ข้อ167: ความมีวาจาอ่อนหวาน (สาขัลยะ) และ การต้อนรับ (ปฏิสันถาร)
[26:53] ข้อ168: ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) และ ความสะอาด (โสเจยยะ)
[28:11] ข้อ169: ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์และความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค | ข้อ170: ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์และความรู้จักประมาณในการบริโภค
[43:54] ข้อ171: กำลังคือการพิจารณา (ปฏิสังขานพละ) และ กำลังคือการเจริญ (ภาวนาพละ) | ข้อ172: สติพละ และ สมาธิพละ
[48:25] ข้อ173: สมถะ และ วิปัสสนา
[48:46] ข้อ174: สีลวิบัติ และ ทิฏฐิวิบัติ | ข้อ175: สีลสัมปทา และ ทิฏฐิสัมปทา | ข้อ176: สีลวิสุทธิ์ และ ทิฏฐิวิสุทธิ์
[52:32] ข้อ177: ความหมดจดแห่งทิฏฐิ และ ความเพียรที่สมควร (ปถาน)
[53:18] ข้อ178: ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความไม่ถอยกลับในการทำความเพียร
[55:59] ข้อ179: ความหลงลืมสติ และ ความมีสติ | ข้อ180: ความไม่มีสัมปชัญญะ และ ความมีสัมปชัญญะ